ข้อมูลทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย การจำแนกระบบหมายเลขทางหลวง
หน้าแรก ดัเบิ้ลเอ็นจอย โปรแกรมทัวร์ ท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก ข้อมูลการท่องเที่ยว ห้องภาพ ดับเบิ้ลเอ็นจอย เว็บบอร์ด ทัวร์ท่องเที่ยว เกี่ยวกับดับเบิ้ลเอ็นจอย ติดต่อ ดับเบิ้ลเอ็นจอย  

ทางหลวงในประเทศไทย: การจำแนกระบบหมายเลขทางหลวง

โดย Patty : 06 มี.ค. 2555
   
  ทางหลวงในประเทศไทย | ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน | การจำแนกระบบหมายเลขทางหลวง
 
   
 

ทางหลวงในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ได้แก่

ทางหลวงพิเศษ : คือ ทางหลวงที่จัดหรือทำไว้เพื่อให้การจราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงพิเศษโดยกรมทางหลวง เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา รวมทั้งควบคุมให้มีการเข้าออกได้เฉพาะ โดยทางเสริมที่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษตามที่กรมทางหลวงจำทำขึ้นไว้เท่านั้น อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวง

ทางหลวงแผ่นดิน : คือ ทางหลวงสายหลักที่เป็นโครงข่าย เชื่อมระหว่าง ภาค จังหวัด อำเภอ ตลอดจนสถานที่ที่สำคัญ ที่กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงแผ่นดิน อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวง

ทางหลวงชนบท : คือ ทางหลวงที่กรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงชนบท อธิบดีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวงชนบท

ทางหลวงท้องถิ่น : คือ ทางหลวงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด

ทางหลวงสัมปทาน : คือ ทางหลวงที่รัฐบาลได้ให้สัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้รับสัมปทาน และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงสัมปทาน อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวง

 
 

ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน
ในยุคสมัยเริ่มต้นของการก่อสร้างทางหลวง กรมทางหลวงนิยมใช้ชื่อ หรือบุคคลที่มีความสำคัญในสายทางนั้น มาตั้งเป็นชื่อถนน หรือสะพาน เช่น ถนนวิภาวดีรังสิต สะพานสารสิน เป็นต้น ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ การใช้ชื่ออาจจะก่อให้เกิดความสับสน และไม่สามารถทราบได้ว่า ทางสายนั้นอยู่ในภาคใด ดังนั้นจึงได้มีการนำระบบหมายเลขทางหลวงมาใช้กับทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน ที่อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวง โดยหมายเลขกำกับ มีความหมายบ่งบอกถึงภาคที่ตั้งของเส้นทาง แต่อาจจะมีการคาบเกี่ยวกันระหว่างภาค เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีการแบ่งจังหวัดในแต่ละภาคต่างกันบ้างเล็กน้อยดังนี้

ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 1 : แสดงว่าทางสายนั้นอยูในภาคเหนือ และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 2 : แสดงว่าทางสายนั้นอยูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของภาคเหนือ และภาคกลาง

ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 3: แสดงว่าทางสายนั้นอยูในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และบางส่วนของภาคใต้

ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 4: แสดงว่าทางสายนั้นอยูในภาคใต้

 
 

การจำแนกระบบหมายเลขทางหลวง

ทางหลวงที่มีหมายเลขตัวเดียว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายประธาน เชื่อมการจราจรระหว่างภาคต่อภาค ในปัจจุบันมีอยู่ 4 สาย คือ

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 : (ถนนพหลโยธิน) เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย (ชายแดนประเทศพม่า) อ.แม่สาย จ.เชียงราย
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 : (ถนนมิตรภาพ) เริ่มต้นจากทางแยกต่างระดับมิตรภาพ อ.เมือง จ.สระบุรี และสิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว (ชายแดนประเทศลาว) อ.เมือง จ.หนองคาย
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 : (ถนนสุขุมวิท) เริ่มต้นจากจุดตัดทางรถไฟสายแม่น้ำ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก (ชายแดนประเทศกัมพูชา) อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 : (ถนนเพชรเกษม) เริ่มต้นจากสะพานเนาวจำเนียร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนสะเดา (ชายแดนประเทศมาเลเซีย) อ.สะเดา จ.สงขลา

ทางหลวงที่มีหมายเลขสองตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายประธานตามภาคต่างๆ เชื่อมการจราจรระหว่างจังหวัดในภาค ในปัจจุบันมีอยู่ 16 สาย คือ

ภาคเหนือ : มี 2 สายคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : มี 4 สายคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21-24
ภาคกลาง : มี 7 สายคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31-37
ภาคใต้ : มี 4 สายคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41-44

ทางหลวงที่มีหมายเลขสามตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายรอง เชื่อมการจราจรระหว่างจังหวัดต่อจังหวัด เช่น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองในภาคกลาง สายบางปะกง-ฉะเชิงเทรา ในปัจจุบันมีอยู่ 131 สาย คือ

ภาคเหนือ : มี 25 สายคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101-126
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : มี 35 สายคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201-290
ภาคกลาง : มี 53 สายคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 301-362
ภาคใต้ : มี 18 สายคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401-420

ทางหลวงที่มีหมายเลขสี่ตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นที่เชื่อมการจราจรระหว่างจังหวัด กับอำเภอ หรือระหว่างอำเภอกับอำเภอ หรือเชื่อมสถานที่สำคัญของจังหวัดนั้น เช่น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4006 เป็นทางหลวงในภาคใต้ สายแยกทางหลวงหมายเลข 4 (ราชกรูด) - หลังสวน

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวงได้พิจารณากำหนดระบบหมายเลขทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ให้เป็นระบบหมายเลขทางหลวงใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหลัก เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหลักเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ ไปยังแต่ละภาคของประเทศ มีจำนวนทั้งหมด 5 เส้นทาง ดังนี้

กรุงเทพฯ - ภาคเหนือ : ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 คือโครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครสวรรค์ และโครงการมอเตอร์เวย์ลำปาง-เชียงใหม่
กรุงเทพฯ - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 คือโครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา
กรุงเทพฯ - ภาคตะวันออก : ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 คือโครงการมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา
กรุงเทพฯ - ภาคใต้ : ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8 คือโครงการมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ
วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ : ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 หรือถนนกาญจนาภิเษก

2.ทางเชื่อมโยงจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหลัก เป็นทางเชื่อมโยงจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหลัก ไปสู่เส้นทางที่มีการจราจรสูง และเส้นทางที่เข้าพื้นที่สำคัญในภาคนั้นๆ มีหลักเกณฑ์การจัดเข้าไว้ในระบบหมายเลขทางหลวง เป็นตัวเลขจำนวน 2 หลัก โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดคือ ตัวเลขหลักแรกเป็นหมายเลขของสายทางหลัก และตัวเลขหลักที่สอง เป็นลำดับหมายเลขเส้นทางที่แยกจากทางสายหลักดังกล่าว

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 51 : คือ โครงการมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 61 : คือ โครงการมอเตอร์เวย์ชลบุรี-นครราชสีมา
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 62 : คือ โครงการมอเตอร์เวย์นครราชสีมา-อุบลราชธานี
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 71 : คือ โครงการมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 : คือ โครงการมอเตอร์เวย์บางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 83 : คือ โครงการมอเตอร์เวย์พระแสง-ภูเก็ต
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 84 : คือ โครงการมอเตอร์เวย์ทุ่งสง-นครศรีธรรมราช
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 91 : คือ โครงการถนนวงแหวนรอบภาคกลาง ปากท่อ-บ้านโป่ง-สิงห์บุรี-สระบุรี-บางปะกง

 
 


ทางหลวงในประเทศไทย | ทางหลวงแผ่นดิน | ทางหลวงพิเศษ | การจำแนกระบบหมายเลขทางหลวง | ข้อมูลทางหลวงแผ่นดิน

 
1
 
Double Hot
 
 
Double Promotion
 
1
     
 
บทความตามอารมณ์
 
 
ความทรงจำกับภาพถ่าย
 
 
ทริปเด่นประจำเดือน
 
 
โปรแกรมทัวร์ใหม่แนะนำ
 
  แผนที่ตั้งสำนักงาน  
 
 
  ดับเบิ้ล เอ็นจอย (Double Enjoy)  
  300/50 ถ.นวมินทร์ นวมินทร์
บึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10240
 
  Tel: 02-379-1168
08-6306-5572, 08-6306-5573

 
  Fax: 02-379-1163 (อัตโนมัติ)  
  Email: [email protected]  
GPS: N 13.79774 / E 100.64738
 
  [+] Home [+] Programs Tour [+] Webboard [+] Garelly [+] About Us [+] Contact Us
 
Copyright © 2008-2014 DoubleEnjoy.com All Rights Reserved.
300/50 Nawamin Road, Nawamin, Buengkum, Bangkok 10240
Tel: 02-379-1168 Fax: 02-379-1163(อัตโนมัติ) Mobile: 08-6306-5572, 08-6306-5573, 090-568-3080
Hotline สายด่วน: 08-2499-2007 Email/MSN: [email protected]
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เลขที่ 11/05307 ทะเบียนเลขที่ 0125554005216